บทความส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นภเนตร ธรรมบวร อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
จากหนังสือ ๗๐ปีโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
ความรู้ด้านพันธุกรรมของมนุษย์พิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หรือเผ่าพันธุ์ใดมีความแตกต่างกับทางพันธุกรรมไม่ถึง 2 เปอร์เซ็นต์ แต่การที่มนุษย์มีความแตกต่างกันเป็นผลจากการบ่มเพาะและสภาพแวดลการจัดการเรียนรู้ที่ให้มนุษย์ได้เกิดการบ่มเพาะจึงเป็นหนึ่งที่สอดคล้องกับพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย การส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ถือเป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และยังถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทั้งนี้เพราะประสาทสัมผัสเปรียบเสมือนกับเสาอากาศ หรือตัวรับรู้สิ่งต่างๆ ของมนุษย์ ถ้าเครื่องรับมีประสิทธิภาพการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ย่อมมีคุณภาพตามไปด้วย แต่ถ้าเครื่องรับขาดประสิทธิภาพในการรับรู้สิ่งต่างๆ หรือมีประสิทธิภาพไม่สูง ก็จะส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กมีคุณภาพต่ำ และการให้เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเพียงใดก็ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูจะต้องช่วยกันฝึกประสาทสัมผัส แก่เด็ก
ขั้นตอนต่อไปเป็นการฝึกการแยกแยะโดยผ่านการดมกลิ่นผลไม้ชนิดต่างๆ กัน เช่น กลิ่นส้ม กลิ่นแอปเปิล กลิ่นกล้วย และกลิ่นผลไม้รวม หลังจากที่เด็ก ได้เรียนรู้วิธีดมกลิ่นที่ถูกต้องว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อประสาทรับกลิ่นของจมูกแล้ว ได้เรียนรู้วิธีดมกลิ่นที่ถูกต้องว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อประสาทรับกลิ่นของจมูกแล้ว เด็กๆ ต่างก็ผลัดกันดมกลิ่นของผลไม้ต่างๆ ที่ตนได้รับพร้อมทั้งบันทึกข้อมูล และตั้งสมมุติฐานไปด้วยในขณะเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น